กฏบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน
บริษัทฯ ได้จัดให้มีฝ่ายตรวจสอบภายในเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในด้านการตรวจสอบภายใน โดยมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัทซึ่งมีการทบทวนโดยสม่ำเสมอ การตรวจสอบภายในคือการปฏิบัติงานอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการทดสอบและการประเมินกิจกรรมการต่างๆ รวมทั้งการปฏิบัติงานตามความประสงค์ของผู้บริหารและคณะกรรมการเกี่ยวกับความเพียงพอและความมีประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง และเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ให้ปฏิบัติสำเร็จตามหน้าที่และความรับผิดชอบ และเพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสอดคล้องกับมาตราฐานการตรวจสอบสากล (International Auditing Standards) ฝ่ายตรวจสอบภายในจึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบดังรายละเอียดต่อไปนี้
หน้าที่และความรับผิดชอบ
- การปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ได้ถูกกำหนดให้แยกเป็นอิสระจากส่วนงานอื่น ๆ ภายในบริษัทฯและมีการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระ โดยมีการรายงานผลการปฏิบัติงานโดยตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะกรรมการตรวจสอบเป็นผู้กำหนดบทบาท หน้าที่ของฝ่ายตรวจสอบภายในภายใต้คำปรึกษาของฝ่ายบริหารและคำชี้แนะจากคณะกรรมการบริษัทฯ
- นอกจากนั้น ฝ่ายตรวจสอบภายใน มีบทบาทเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้แน่ใจว่าการปฏิบัติงานของบริษัทฯ และฝ่ายบริหาร เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
- ความรับผิดชอบที่สำคัญของฝ่ายตรวจสอบภายในคือเพื่อให้แน่ใจว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ ความมีประสิทธิภาพ การปกป้องทรัพย์สินของบริษัทฯ การปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการดูแลการบันทึกรายการและความเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายตรวจสอบภายในจึงมีหน้าที่ในการทดสอบการบันทึกรายการ การสอบทานความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน การสอบทานการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ซึ่งรวมทั้งนโยบายของฝ่ายบริหารและระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ของบริษัทฯ การตรวจสอบตามคำแนะนำของผู้สอบบัญชีภายนอก การให้คำเสนอแนะเพื่อแก้ไขให้ดีขึ้น การตรวจสอบรายการที่เกี่ยวโยงกันรวมถึงการสอบทานการเปิดเผยข้อมูล กิจกรรมที่ฝ่ายตรวจสอบภายในให้ความสำคัญอีกอย่าง คือการตรวจสอบการปฏิบัติการพิเศษและการตรวจปฏิบัติการตามระยะเวลาที่กำหนด
- ฝ่ายตรวจสอบภายในได้รับอนุญาตโดยตรงจากคณะกรรมการ ให้เข้าถึงข้อมูลของบริษัทฯ ทั้งที่เป็นคู่มือปฏิบัติงาน การบันทึกรายการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทรัพย์สินของบริษัทฯ แฟ้มเอกสาร รายงานต่าง ๆ รวมถึงข้อมูลจากบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามกิจกรรมการตรวจสอบทั้งหมด ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทฯ ฝ่ายบริหาร และการให้ความร่วมมือที่ดีในการปฏิบัติงานตรวจสอบระหว่างผู้ตรวจสอบภายใ น ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบภายในบรรลุความสำเร็จตามวัตถุประสงค์